วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Royal India Restaurant

ชิมขนมของคนอินเดีย ที่พาหุรัด!!!!!!!!!!!!!!
1. รสชาติหวาน แข็ง โรยหน้าด้วยผักชี 

2. รสชาติหวาน เหมือนกินน้ำตาลปี๊บ มีกลิ่นของนมเนย

3. รสชาติหวาน นิ่มๆ โรยหน้าด้วยถั่ว และแอลมอน เหมือนขนมของคนไทย มีกลิ่นของสมุนไพร





เจ้าของร้านพูดไทยชัดมาก ใจดี ขนมมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 12 บาทขึ้นไปต่อชิ้น สามารถสั่งซื้อเป็นกิโลได้ สำหรับผู้ที่ชอบความหวาน อาจจะถูกใจในรสชาติของขนมอินเดีย !!!!




ที่มา :ร้าน Royal India Restaurant ฝั่งตรงข้ามห้างอินเดีย พาหุรัด





วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออกจากไทย ไปสู่จีน!!

ส่งออกคอมพิวเตอร์ฝีมือคนไทย ไปยังตลาดใหญ่อย่างประเทศจีน !!!!!!!!!

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

       จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1  ของไทย โดยในปี   2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 2,413.97  ล้านเหรียญสหรัฐฯ  มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ  56.63 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในรอบปีที่ผ่านมาการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ชิ้นส่วนและอุปกรณ์  สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันไทยได้กลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก จากการเข้ามาของนักลงทุนรายใหญ่ทั้ง สหรัฐฯ และญี่ปุ่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนประกอบประเภทฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีบทบาททั้งทางด้านการผลิตและการส่งออกมากที่สุดในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้
 การส่งออก
       ประเทศไทยส่งออกไปตลาดจีน เป็นอันดับที่ 3 มูลค่า  8359.90  ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ  27.44      สินค้าส่งออกเหล่านี้ขยายตัวได้ดีเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์  เคมีภัณฑ์  แผงวงจรไฟฟ้า  ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง  ผลิตภัณฑ์ยาง  และเครื่องใช้ไฟฟ้า  อย่างไรก็ตาม  สินค้าส่งออกบางรายการมียอดส่งออกลดลง  อาทิ  ข้าวซึ่งส่งออกลดลงร้อยละ  21.20  หม้อแปลงไฟฟ้า  ลดลงร้อยละ  5.76  และผลไม้สดและแช่เย็น  ลดลงร้อยละ  1.14  เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาท  ทำให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขัน  นอกจากนี้มีสินค้าบางรายการที่การส่งออกเริ่มชะลอตัวลงซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการขยายตัวที่ลดลงในปีนี้ได้แก่  เม็ดพลาสติก  ไม้แปรรูป  ยางพารา  ทองแดง  และของที่ทำด้วยทองแดง  และวงจรพิมพ์

สินค้า
2549
เพิ่ม  (%)
1H2550
เพิ่ม  (%)
คอมพิวเตอร์
2,472.0
0.71
1,541.8
43.04
เคมีภัณฑ์
1,185.2
126.83
639.7
41.15
ยางพารา
1,353.3
65.98
605.8
19.69
เม็ดพลาสติก
909.9
18.95
448.2
6.69
แผงวงจรไฟฟ้า
654.4
56.61
396.1
42.20
น้ำมันสำเร็จรูป
340.6
312.74
339.0
117.76
มันสำปะหลัง
518.1
35.14
300.1
30.75
น้ำมันดิบ
556.8
3.45
219.7
-30.62
ผลิตภัณฑ์ยาง
282.7
121.78
178.2
61.33
ไม้แปรรูป
254.0
9.90
128.4
6.86
รวม  (US$ M)
11,708.9
27.72
9,571.2
27.66



การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis)


จุดแข็ง(Strengths)
1.     ค่าจ้างแรงงานต่อหน่อยของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ต่ำ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงไปด้วย ซึ่งจุดนี้สามารถดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนได้
     

2.     สามารถตอบโจทย์กับความต้องการของธุรกิจปัจจุบันได้
      

3.     ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่อง
4.     ความยืดหยุ่นในการทำธุรกิจ หรือFlexibility ที่สูง สามารถปรับตัวกับสถานการณ์ได้หลากหลายรูปแบบ

จุดอ่อน(Weaknesses)
1.  ผู้ผลิตที่มีขนาดใหญ่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมากในตลาดโลกทำให้ความ สามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยน้อย
           

2. มีผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้ามาเปิดสำนักงานในประเทศไทย เข้ามาแย่งตลาด
3.  อยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาก่อให้เกิดความไม่มั่นใจในคุณภาพของงานผลิตจากบริษัทของไทย
4. ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ที่อยู่ในระดับสูง
โอกาส(Opportunities)
1.    การควบคู่ไปกับพันธมิตร (Partner) รายอื่นๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารการจัดการ และสามารถพัฒนาธุรกิจได้อย่างครบวงจรเพราะจะทำให้สามารถเข้าถึงความต้องการ ของลูกค้าได้มากที่สุด เนื่องจากสามารถบริการองค์กร และธุรกิจให้ครบวงจรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.    เนื่องจากการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารข้อมูลที่ขยายตัวอย่างมากของจีน ซึ่งรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนในการพัฒนาได้เป็นปัจจัยเสริมให้มีการนำเข้ามากขึ้น
3. ตลาดในระดับโลกมีลักษณะเปิดมากขึ้นกว่าเดิม
4. การส่งเสริมโอกาสทางตลาดทั้งในและต่างประเทศ ให้มีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูล

อุปสรรค(Threats)
1.   การช่วงชิงตลาดจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเวียดนาม   
2.    ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง ทำให้ปริมาณการนำเข้า / ส่งออก มีความไม่แน่นอนตามกลไลเชิงตลาด
3.    เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองในประเทศ ซึ่งมีระยะเวลายาวนานและส่งผลกระทบในเชิงลบ
4.  ความต้องการของธุรกิจ จะยังคงลดต้นทุนการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง ตลาดจะหันมาพิจารณา สินค้าที่สามารถตอบโจทย์การทำงานได้คุ้มค่าที่สุด





ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
http://www.stockwave.in.th/economic-view/12633-eximb-280610.html




วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าและการตลาดระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ คืออะไร???!!!!!!!!!???????
       การค้าระหว่างประเทศ  คือกิจกรรมที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศ   อาจเปลี่ยนเป็นสิ่งของต่อสิ่งของโดยตรง  หรือใช้เงินตราต่างประเทศเป็นที่ยอมรับทั่วไปเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ จึงทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนและวิทยาการเทคโนโลยีต่าง ๆ ระหว่างประเทศ
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ  ที่สำคัญมีดังนี้
   1. ทำให้ประชาชนในประเทศมีสินค้าสนองความต้องการมากประเภทขึ้น
   2. ขยายตลาดได้มากขึ้น การผลิตมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการจัดมาตรฐานสินค้า มีการแบ่งแยกแรงงาน
   3. เมื่อผลผลิตมากขึ้น ราคาก็จะต่ำลง
   4. สร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างพลเมืองของประเทศคู่ค้า

           

การตลาดระหว่างประเทศคือ..............??????????????????

        การตลาดระหว่างประเทศ(International Maketing)ได้มีผู้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศในหลายๆ คำจำกัดความดังต่อไปนี้
        สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association: AMA) ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่า การตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ (Multinational)
               
      ดังนั้นการตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
ความแตกต่าง!!!!!!!!!!!ระหว่างการค้าระหว่างประเทศและการตลาดระหว่างประเทศ.........???.........
       การค้าระหว่างประเทศเป็นกิจกรรมที่มุ่งสู่การแลกเปลี่ยนระหว่างสินค้ากับเงินตราต่างประเทศ 
    การตลาดระวห่างประเทศเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการทำธุรกิรกิจข้ามชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งตลาดใหม่

    ซึ่งการทำการค้าระหว่างประเทศต้องอาศัยการทำการตลาดระหว่างประเทศซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดการทำกิจกรรมทางธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด




ที่มา :

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศจีน(เศรษฐกิจการค้า)

แนวโน้มการค้าประเทศจีน !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
1. สถิติการค้าจีนกับทั่วโลก มูลค่า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
รายการ
2543
2544
2545
ม.ค.-มิ.ย. 45
ม.ค.-มิ.ย.46
%ปป.
ส่งออก
249.212
266.155
325.565
142.052
190.321
33.98
นำเข้า
225.097
243.613
295.203
128.649
185.822
44.44
ดุลการค้า
24.115
22.542
30.362
13.403
4.499
?


1. จีนส่งออกไปทั่วโลก (ม.ค.-มิ.ย.46) 190,320,96ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2. จีนนำเข้าจากทั่วโลก (ม.ค.-มิ.ย.46) 185,821,720 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจีนนั้นมีดุลการค้าที่เกินดุลมาโดยตลอด โดยในช่วง ม.ค.-มิ.ย.46 มีมูลค่าการค้าเกินดุลสูงถึง 13.403 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2. สถิติการค้าของจีนกับไทย มูลค่า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
รายการ
2543
2544
2545
ม.ค.-พ.ค. 45
ม.ค.-พ.ค.46
%ปป.
จีนส่งออกไปไทย
2.243
2.337
2.958
1.138
1.422
24.98
จีนนำเข้าจากไทย
4.381
4.712
5.602
1.997
3.310
65.71
ดุลการค้า
-2.138
-2.375
-2.644
-0.859
-1.888
?

2.1 จีนส่งออกไปไทย (ม.ค.-มิ.ย.46) 1,723.007 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2.2 จีนนำเข้าจากไทย (ม.ค.-มิ.ย.46) 3,984.855 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจีนนั้นมีดุลการค้าที่ขาดดุลกับไทยมาโดยตลอด โดยเมื่อครึ่งปีที่ผ่านมา (ม.ค.-พ.ค.46) มีมูลค่าการขาดดุลถึง 1.888 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการพิจารณาถึงแม้ว่าไทยจะได้เปรียบดุลการค้าจีน แต่ก็เป็นปริมาณที่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากเศรษฐกิจจีนนั้นถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ เนื่องจากมีประชากรมาก ดังนั้นโอกาสที่สินค้าไทยจะเข้าไปตีตลาดในจีนนั้นยังมีอยู่มาก แต่ในขณะเดียวกัน ไทยก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากภายนอก เนื่องจากจีนนั้นเป็นสมาชิก WTO จีนจึงต้องเปิดตลาดมากขึ้น สินค้าชนิดเดียวกันจากประเทศอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่าไทยน่าจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญ ในทางกลับกัน สินค้าไทยที่มีศักยภาพมีความได้เปรียบ ก็จะสามารถเข้าสู่ตลาดจีนมากยิ่งขึ้น สินค้าที่จีนนำเข้าจากไทยนั้นมีหลากหลายประเภท ทั้งสินค้าอุตสาหกรรม เกษตรกรรม รวมไปถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ดังนั้นในอนาคตมูลค่าทางการค้าระหว่างไทย กับจีนก็น่าจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
3.สินค้าที่จีนนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นในรอบ 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย. 2546)
      จีนนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นถึง 37 รายการจาก 50 รายการสินค้า โดยสินค้าที่จีนนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นเป็นอันดับที่หนึ่งได้แก่ สินแร่ เชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น โดยมีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 201.57 อันดับ 2 ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ โดยมีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 201.57 กระจก/แก้วและเครื่องแก้ว โดยมีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 152.97 ยางพาราและผลิตภัณฑ์ โดยมีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 143.40 ลำดับ 3 และ4 ตามลำดับ
4. สินค้าที่จีนนำเข้าจากไทยลดลงในรอบ 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย. 2546)
       จีนนำเข้าสินค้าจากไทยลดลง 11 รายการจาก 50 รายการสินค้า โดยสินค้าที่จีนนำเข้าจากไทยลดลงเป็นอันดับที่หนึ่งได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ โดยมีอัตราการนำเข้าลดลงถึงร้อยละ 98.10 (จีนนำเข้าจากประเทศอื่นๆมากขึ้น) อันดับ 2 ได้แก่ น้ำตาล/ขนมที่ทำจากน้ำตาล โดยมีอัตราการลดลงร้อยละ 88.42 ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ โดยมีอัตราการลดลงร้อยละ 46.38 (จีนนำเข้าจากประเทศอื่นเพิ่มขึ้น) ผลไม้มีอัตราการนำเข้าลดลงร้อยละ 26.64 (จีนห้ามนำเข้าลำไยสด)


ที่มา :